วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

7.3ขั้นการติดตั้งสายชนิดต่างๆ

ขั้นตอนนี้เป็นการติดตั้งสายชนิดต่างๆ ที่อยู่ภายในตัวเคสเข้ากับเมนบอร์ดเพื่อให้เครื่องทำงานได้ ซึ่งได้แก่ สายจ่ายไฟให้กับเมนบอร์ด,สาย Power LED , สาย Power Switch, สาย HDD LED , สาย Reset และสาย Speaker ซึ่งเป็นสายหลักที่จะต้องมีในทุกเครื่อง โดยมีขั้นตอนดังนี้

ติดตั้งสายจ่ายไฟเลี้ยงเมนบอร์ด
1.ในขั้นตอนแรกนี้ให้มองหาช่องรับไฟเลี้ยงบนเมนบอร์ดซึ่งเป็นขั้วสีขาวมีจำนวน 20 ช่อง เมื่อพบแล้วให้เตรียมจัดขั้วจ่ายไฟเลี้ยงเข้ากับตัวเคสไว้
 2.ให้นำสายจ่ายไฟเลี้ยงจากตัวเคส(แหลเงจ่ายไฟ) ไปเสียบเข้ากับช่องรับไฟเลี้ยงสีขาวบนเมนบอร์ด โดยจัดใหจัดด้านที่มีหัวล็อคให้ตรงกัน
3.หลังจากนั้นให้เสียบสายจ่ายไฟลงไปบนช่องรับไฟเมนบอร์ด

ติดตั้งสายสัญญาณเครื่อง
1.ตรวจดูขา Pin สำหรับเสียบสายสัญญาณบนเมนบอร์ดเปรียบเทียบกับภาพในคู่มือบนเมนบอร์ด เพื่อหาขาสัญญาณสำหรับสายชนิดต่างๆ
2.เมื่อทราบตำแหน่งที่ตั้งขาเสียบสายสัญญาณเรียบร้อยแล้ว ก็นำสายสัญญาณภายในเคสไปเสียบเข้ากับขาเสียบบนเมนบอร์ด มี เสียบสาย HDD LED  เสียบสาย Power LED เสียบสาย Power SW 
เสียบสาย Reset และ Speaker



  

7.2 สายสัญญาณ

สายสัญญาณ 
ระบบสายสื่อสาร Computer และ ระบบสายสัญญาณ LAN
LAN (UTP) SYSTEM- สาย Link CAT 5E คุณสมบัติสูงกว่าสาย CAT 5E ยี่ห้ออื่น ๆ เพราะออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth ที่ 350 MHz ซึ่งสายทั่วไปรองรับที่ 100-200 MHz
- สาย Link CAT 6 ULTRA ออกแบบเพื่อรองรับ Bandwidth 600 MHz สูงกว่ามาตรฐานที่ระบุ 250 MHz
- ผ่านการรับรอง UL และ INTERTEK
- Product Warranty 5 Years











FIBER OPTIC SYSTEM
-  INDOOR  FIBER OPTIC CABLE
-  OUTDOOR/INDOOR  FIBER  OPTIC  CABLE
          ส่วนใหญ่จะเดินสาย OUTDOOR จากภายนอกและเดินเข้าภายในอาคาร ซึ่งผิดข้อกำหนดมาตรฐานกล่าวคือ สาย OUTDOOR จะลามไฟ(Flamable) ซึ่งไม่เหมาะกับการเดินภายในอาคาร ดังนั้นเพื่อความถูกต้อง จึงต้องใช้สาย OUTDOOR /INDOOR มาเดินแทนสาย OUTDOOR เนื่องจากสาย OUTDOOR/INDOOR มีคุณสมบัติ ที่พิเศษคือฉนวนภายนอก ใช้สาร PE ทนสภาวะแวดล้อมภายนอกอาคาร แต่เติมสาร LSZH ตามมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยของสากล เพื่อให้มีคุณสมบัติมีควันน้อย และควันไม่เป็นอันตรายเมื่อเกิดไฟไหม้
-  OUTDOOR/ARMORED  FIBER  OPTIC  CABLE
          สายใยแก้วที่ติดตั้ง OUTDOOR จะมีฉนวนภายนอกที่ทำจากสาร PE ซึ่งสามารถทนกรด-ด่างและสภาพแวดล้อมได้ดีแต่เมื่อนำไปฝังดินอาจจะประสบปัญหาการถูกของมีคมที่ขุดหรือเจาะลงไปทำให้ชำรุดได้ ดังนั้นสายที่ผังใต้ดินส่วนใหญ่มักจะมีเกราะป้องกัน(Armored) และที่นิยมที่สุดได้แก่ Corrugate Armored Steel (เหล็กเป็นรูปคลื่น) ผู้ติดตั้งบางท่านอาจจะนำสาย OUTDOOR/ARMORED มาเดินลอยหรือวางบน Cable Leader, Wire Way, Cable Tray ฯลฯได้ ซึ่งช่วยป้องกันสัตว์กัดแทะ ( Rodent ) ได้ดี
-  OUTDOOR/DROP WIRE  FIBER  OPTIC  CABLE
          การเดินสายสัญญาณระยะทางยาว ๆ ซึ่งต้องให้สาย Fiber Optic เป็นสายสัญญาณหลักและการติดตั้งจริงมักจะเดิน Outside Plant โดยติดตั้งบนเสาไฟฟ้าหรือตามชายคาอาคารพาณิชย์ทั่วไป เช่น การติดตั้งกล้อง CCTV, การเชื่อมโยงบริษัทแม่และลูก, การเชื่อมโยงแต่ละอาคาร
          สาย Fiber Optic ชนิด Drop Wire เป็นทางออกที่ช่วยให้ผู้ติดตั้งไม่ต้องเดินสายสลิงเพื่อเป็น Messenger Wire สำหรับแขวนสาย Fiber Optic ทำให้การติดตั้งสะดวกยิ่งขึ้น
-  OUTDOOR/ADSS  FIBER  OPTIC  CABLE (ALL-DIELECTIRIC  SELF-SUPPORTING)
          สาย Fig 8 หรือ Drop Wire มีโครงสาร้างโลหะอยู่ในสาย Fiber Optic ดังนั้นสาย ADSS ซึ่งออกแบบให้ไม่มีตัวนำไฟฟ้าในโครงสร้าง ( All Dielectric) และมีแกนกลางในการรับน้ำหนักแขวนได้ดี จึงเป็นโครงสร้างของการออกแบบที่สามารถนำไปแขวนตามเสาไฟได้ทันที









COAXIAL  SYSTEM
สาย Coaxial  Cable  เป็นสายที่ออกแบบและผลิตจากสหรัฐอเมริกา  โดยเป็นสายที่มีคุณภาพที่สูง  (High  Quality  Cable)  และมีหลายรุ่นหลายแบบให้เลือก เพื่อความเหมาะสมกับสภาพการติดตั้งดังนี้
1.  INDOOR  เป็นสายที่ออกแบบเพื่อใช้ในอาคาร  หรือเดินร้อยท่อ  Conduit  Jacket  ภายนอกทั่วไปมักเป็น  PVC  สีขาว  (บางรุ่นอาจเป็นสีดำได้  ซึ่งไม่มีมาตรฐานบังคับ)
2.  OUTDOOR  เป็นสายที่เดินทั้งภายนอกและภายในอาคาร  ฉนวนภายนอกจะเป็น  PE (Polyethylene)  ที่มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อมเป็นพิเศษ  และยังมีคุณสมบัติป้องกันน้ำผ่านได้ระดับหนึ่ง  (ไม่ควรติดตั้งแช่น้ำ)
3.  w/Massenger  เป็นสาย  Outdoor  ที่เพิ่มเส้นลวดเพื่อความสะดวกในการแขวนไปตามชายคา  หรือตามเสาไฟฟ้า  และเมื่อจะเดินเข้าอาคาร  ก็สามารถตัดลวดทิ้ง  แล้วเดินเฉพาะสายเข้าอาคารได้  เพิ่มความสะดวกในการติดตั้งอย่างมาก








-  มีบริการทำสาย  Assembly  ตามความต้องการของท่าน  โดยสามารถระบุชนิด  Connector  และความยาวได้ไม่จำกัด
-  มีบริการ  Terminate  หัว  และทดสอบสาย  นอกสถานที่ทั่วประเทศ 

7.2การติดตั้งสายเชื่อมฮาร์ดิสก์ กับ เมนบอร์ด

การติดตั้งสายเชื่อมฮาร์ดิสก์ กับ เมนบอร์ด

1. ให้เสียบสายแพควบคุมเข้าท้ายฮาร์ดดิสก์ โดยเสียบให้ถูกด้าน ! สังเกตุจะมีเดือยที่ขั้วสายแพ และที่ฮาร์ดดิสก์จะมีร่องเดื่อย! 2. นำปลายสายอีกด้านหนึ่งของสายควบคุมไปเสียบเข้ากับ คอนเน็ตเตอร์ทีอยู่บนเมนบอร์ด ซึ่งมักมีอักษรกำกับ ไว้ว่า IDE1 หรือ Primary IDE โดยให้หันด้านสายสัญญาณเส้นสีแดงตรงกับขา 1 บนเมนบอร์ด ! สามารถดูได้จากคู่มือเมนบอร์ดที่ให้มา!

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

7.1ความรู้เบื้อต้นการติดตั้ง สายไฟ และสายสัญญาณ

                  การติดตั้ง สายไฟ และสายสัญญาณ
1. เปิดคู่มือของ Mainboard เพื่อหาตำแหน่งติดตั้งสายไฟ และสายสัญญาณ
สายไฟ คือ สายไฟเลี้ยงที่มาจาก power supply ที่แปลงไฟฟ้าจากไปบ้าน         สายไฟมีดังต่อไปนี้
- สายไฟสำหรับ Mainboard
- สายไฟสำหรับ CPU (ในกรณีที่ใช้ Pentium 4)
- สายไฟสำหรับ Hard Disk Drive และ Optical Drive

           2. ติดตั้งสายไฟสำหรับ Mainboard ตรง ATX Power Connector (CNI)

- สายไฟสำหรับ Floppy Disk Drive
            3. ติดตั้งสายไฟสำหรับ CPU
สายสัญญาณ คือ
- ATX Power Switch เป็น switch ที่ใช้กดเพื่อเปิดให้เครื่องทำงาน   ส่วนการปิดเครื่องทำได้โดยกด switch ค้างไว้ 4 วินาที
- Reset SW เชื่อมต่อ switch ที่ใช้ restart เครื่อง
- Power LED ต่อเชื่อมกับหลอดไฟ LED ที่อยู่หน้าเคส เพื่อให้ทราบว่า   เครื่องถูกเปิดใช้งานอยู่
- Speaker เชื่อมต่อลำโพงที่อยู่ด้านในเคส   เพื่อส่งเสียงบอกสถานะและเตือนเมื่อเครื่องทำงานผิดพลาด
- HDD LED ต่อเชื่อมกับสัญญาณไฟที่แสดงให้ทราบว่า Hard Disk กำลัง   รับ / ส่งข้อมูลอยู่
           4. ติดตั้งโดยจับขั้วสายสัญญาณ เสียบเข้าช่อง socket ทั้งหมด